มรดกโลกในประเทศอินโดนีเซีย

มรดกโลกในประเทศอินโดนีเซีย
   
ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมเมืองบาหลี: ระบบชลประทานการจัดการน้ำแบบสุบัก
ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเขตบาหลี:ระบบสุบัก (Subak) หลักการตามปรัชญาไตรหิตครณะ (Tri Hita Karana) ก่อร่างเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรมของนาข้าวแบบขั้นบันได ๕ ชั้น และอุทกอารามทั้งหลายครอบคลุมพื้นที่ ๑๙,๕๐๐ เฮกเตอร์ วัดวาอารามต่าง ๆ เป็นจุดรวมของระบบการบริหารจัดการแจกจ่ายน้ำด้วยลำคลองและฝาย รู้จักกันในชื่อ สุบัก ที่มีอายุเก่าไปถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๙ / พุทธศตวรรษที่ ๑๓ ภูมิทัศน์ที่รวมอยู่ด้วยกันคืออารามหลวงปูระ ตามัน อายุน (Royal Temple of Pura Taman Ayun) แห่งคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ / พุทธศตวรรษที่ ๒๓ ซึ่งเป็นอาคารสถาปัตยกรรมขนาดมหึมาที่สุดในรูปแบบนี้บนเกาะบาหลี ระบบสุบักสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดทางปรัชญาไตรหิตครณะ ที่นำดินแดนของผี โลกมนุษย์และธรรมชาติมาไว้ด้วยกัน หลักปรัชญานี้ถือกำเนิดจากการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างบาหลีกับอินเดียมาก ว่า ๒,๐๐๐ ปีและกอร์ปเป็นภูมิทัศน์ของบาหลี ระบบสุบักเพื่อปฏิบัติการเพาะปลูกอย่างเสมอภาคและเป็นกันเองแบบประชาธิปไตย นี้ทำให้ชาวบาหลีกลายเป็นผู้ปลูกข้าวที่มีผลผลิตสูงที่สุดในแถบหมู่เกาะแม้ จะท้าทายต่อการเลี้ยงดูประชากรที่หนาแน่นก็ตาม



อุทยานแห่งชาติโคโมโด

อุทยานแห่งชาติโคโมโด (อินโดนีเซีย: Taman Nasional Komodo) เป็นอุทยานแห่งชาติในประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ใกล้หมู่เกาะซุนดาน้อย ระหว่างจังหวัด East Nusa Tenggara และ West Nusa Tenggara อุทยานประกอบด้วยเกาะใหญ่ 3 เกาะ คือ เกาะโคโมโด เกาะริงกา และเกาะปาดาร์ รวมทั้งยังมีเกาะเล็กๆอีกมากมาย ซึ่งเกาะเหล่านี้กำเนิดขึ้นจากการระเบิดของภูเขาไฟ มีพื้นที่รวมทั้งหมด 1,817 ตารางกิโลเมตร (ส่วนที่เป็นแผ่นดิน 603 ตารางกิโลเมตร) มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 4,000 คน ก่อตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2523 เพื่ออนุรักษ์มังกรโคโมโด ภายหลังยังจัดเป็นพื้นที่สำหรับอนุรักษ์สัตว์ป่าและสัตว์ทะเลชนิดอื่นๆอีก ด้วย ใน พ.ศ. 2534 อุทยานได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก
กิจกรรมดำน้ำเป็นที่นิยมในอุทยานแห่งชาติโคโมโด เนื่องจากเป็นสถานที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลสูง มีสัตว์ทะเลอาศัยอยู่หลายชนิด เช่น ฉลามวาฬ ปลาพระอาทิตย์ กระเบนราหู กระเบนนก ม้าน้ำแคระ ปลากบตัวตลก ทากเปลือย หมึกวงแหวนสีฟ้า ฟองน้ำ เพรียงหัวหอม และปะการัง
ตั้งแต่ พ.ศ. 2538 ทางอุทยานได้รับการสนับสนุนจาก The Nature Conservancy (TNC) ซึ่งเป็นองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมจากสหรัฐอเมริกา มีการวางแผนการจัดการอุทยานใหม่ร่วมกัน และนำไปใช้ในปี พ.ศ. 2543 เพื่อรับมือกับปัญหาการใช้ทรัพยากรทั้งทางบกและทางทะเลที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัญหาของทรัพยากรทางทะเลส่วนใหญ่เริ่มมาจากชุมชนชาวประมงและบริษัทเชิง พาณิชย์ภายนอกอุทยาน แต่อย่างไรก็ตาม การควบคุมและจำกัดการใช้ทรัพยากรจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อผู้ที่อาศัยอยู่ใน บริเวณอุทยาน ซึ่งมีทางเลือกในการดำรงชีวิตน้อยนอกจากต้องรอรับสิ่งที่ทางอุทยานจัดหาให้ จึงมีแผนการวางแนวทางเลือกในการดำรงชีวิตที่เป็นส่วนหนึ่งของแผนการจัดการ อุทยาน แต่ชุมชนภายในอุทยานยังต้องการได้รับผลประโยชน์ตามมาตรฐานที่ตรงกับความต้อง การของพวกเขา
อุทยานแห่งชาติโคโมโดได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการ มรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 เมื่อปี พ.ศ. 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย 


อุทยานแห่งชาติลอเรนซ์

       มรดกโลกโดยยูเนสโก อุทยานแห่งชาติโลเรนซ์ (Lorentz National Park) ในประเทศอินโดนีเซีย เป็นอีกหนึ่งในมรดกโลกของ UNESCO ที่อยู่ในอาเซียน โดยขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปี 1999
 อุทยานแห่งชาติลอเรนซ์ เป็นอุทยานที่มีพื้นมากถึง 2.5 ล้านเฮคเตอร์ และเป็นพื้นที่เพียงแห่งเดียวในโลกที่มีการเชื่อมพื้นที่ยอดเขาที่มีหิมะปก คลุม กับสิ่งแวดล้อมซึ่ง มีพื้นที่ติดกับทะเลเขตร้อนและพื้นที่ชุ่มน้ำ และที่ดูจะโดดเด่นที่สุดในเขตพื้นที่ของอุทยานก็คือ ยอดเขา Puncak Jaya หรือบางครั้งจะเรียกว่า Carstensz หรือ Carstensz Pyramid เป็นยอดเขาที่มี ความสูงถึง 4,884 เมตร ซึ่งนับว่าเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในอินโดนีเซียมาก หรือสูงที่สุดในเกาะนิวกินี และในเขตมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย
โดยพื้นที่ส่วนใหญ่จะถูกล้อมรอบไปด้วยธารน้ำแข็ง และหิมะจำนวนมาก แต่เนื่องจากปัจจุบันโลกของเราได้ร้อนขึ้นไปในทุกๆที ไม่แน่ว่าในอนาคตธารน้ำ แข็งแห่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจจะละลายไปในไม่ช้านี้แน่นอน


กลุ่มวัดพรัมบานัน
จันดีปรัมบานัน (อินโดนีเซีย: Candi Prambanan) หรือ จันดีราราจงกรัง (อินโดนีเซีย: Candi Rara Jonggrang) คือเทวสถานในศาสนาฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ในเขตชวากลาง ห่างจากเมืองยอกยาการ์ตาไป ทางตะวันออกประมาณ 18 กิโลเมตร ตัววัดนั้นสร้างขื้นเมื่อราวปี พ.ศ. 1390 แต่หลังจากสร้างเสร็จได้ไม่นาน ตัววัดก็ถูกทอดทิ้งและถูกปล่อยให้ทรุดโทรมตามกาลเวลา จนเมื่อถึงปี พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) จึงได้มีการเริ่มบูรณะวัดขึ้นมา การบูรณะของสิ่งก่อสร้างหลักสิ้นสุดลงเมื่อปี พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953)
ในปัจจุบัน พรัมบานันถูกยกย่องให้เป็นมรดกโลกและนับได้ว่าเป็นหนึ่งในศาสนสถานในศาสนา ฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ ตัววัดโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมและความใหญ่โตของปรางค์ซึ่งมีความสูงถึง 47 เมตร
ปราสาทหินพรัมบานันได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการ มรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 ภายใต้ชื่อ กลุ่มวัดปรัมบานันเมื่อปี พ.ศ. 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
(i)เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
(iv)เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
วัดพรัมบานัน หรือเป็นที่รู้จักสำหรับคนท้องถิ่นว่า โรโร จองกรัง (Roro Jonggrang) ถือว่าเป็น 1 ในวัดฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยที่จะมีแท่นบูชาหลัก 3 ที่ ซึ่งอุทิศให้แก่ เทพเจ้าฮินดู 3 องค์ ได้แก่ พระพรหม พระศิวะและ พระวิษณุ


แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรัน มรดกโลก
อินโดนีเซีย : ปีที่ขึ้นทะเบียน 1996
แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรัน *
มรดกโลกโดยยูเนสโก
ประเทศ  จังหวัดชวากลาง  อินโดนีเซีย
ประเภท  มรดกทางวัฒนธรรม
ประวัติการจดทะเบียน
จดทะเบียน            2539 (คณะกรรมการสมัยที่ 20)
แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรัน คือแหล่งขุดค้นมนุษย์ชวาที่ได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกของประเทศอินโดนีเซีย ค้นพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936)
มรดกโลก
แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรันได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุม คณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 20 เมื่อปี พ.ศ. 2539 ที่เมืองเมรีดา ประเทศเม็กซิโก ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
(iii) – เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
(iv) – เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
แหล่งมนุษย์ยุคเริ่มแรกซังงีรัน คือแหล่งขุดค้นมนุษย์ชวา ค้นพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2479 ถือว่าเป็นแหล่งขุดค้นที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งต่อการศึกษาวิวัฒนาการของ มนุษย์ ครื่งหนึ่งของซากฟอสซิลมนุษย์โบราณจากทั่วโลกได้รับการค้นพบที่นี่ ประกอบด้วยฟอสซิล Meganthropus palaeo และ Pithecanthropus erectus/Homo erectus ซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อ 1 ล้าน 5 แสนปีมาแล้วที่ตั้งแหล่งโบราณคดีขุดค้นพบตั้งแต่ปี คริสต์ศักราช ๑๙๓๖-๑๙๔๑ (พุทธศักราช ๒๔๗๙-๒๔๘๖) พบฟอสซิลมนุษย์ และต่อมาก็พบฟอสซิลของ Meganthropus erectus/Homo erectus จำนวน ๕๐ ซาก โดยครึ่งหนึ่งเป็นฟอสซิลมนุษย์ เป็นที่อยู่อาศัยมาในอดีตราว ๑ ล้านปีครึ่ง ซังงีรันเป็นสถานที่สำคัญที่ทำให้เราเข้าใจวิวัฒนาการของมนุษย์มากขึ้น


มรดกของป่าฝนเขตร้อนบนเกาะสุมาตรา คือชื่อแหล่งมรดกโลกของประเทศอินโดนีเซียที่ตั้งอยู่บนเกาะสุมาตรา ประกอบด้วยเขตอุทยานแห่งชาติ 3 แห่งได้แก่ อุทยานแห่งชาติกุนุงลูเซอร์ (Gunung Leuser) อุทยานแห่งชาติเครินซีเซบลัต (Kerinci Seblat) และอุทยานแห่งชาติบูกิตบาริซานเซลาตัน (Bukit Barisan Selatan)เป็นถิ่นที่อยู่ของพืชกว่า 10,000 สายพันธุ์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 200 สายพันธุ์ และนก 580 สายพันธุ์ ซึ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 15 สายพันธุ์ไม่สามารถพบได้ที่อื่น รวมทั้งลิงอุรังอุตังสุมาตรา
อุทยานแห่งชาติทั้ง 3 แห่งได้ร่วมกันขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อมรดกของป่าฝนเขตร้อนบนเกาะสุมาตราในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 28 เมื่อปี พ.ศ. 2547 ที่เมืองซูโจว ประเทศจีน

กลุ่มวัดบุโรพุทโธ

บุโรพุทโธสร้างขึ้นโดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร์ เป็นสถูปแบบมหายาน สันนิษฐานว่าสร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 7-9 หรือ พุทธศักราช 1393 ตั้งอยู่ทางภาคกลางของเกาะชวา บนที่ราบเกฑุ ทางฝั่งขวาใกล้กับแม่น้ำโปรโก ห่างจากยอกยาการ์ตา ทางตะวันตกเฉียงเหนือ 40 กิโลเมตร บุโรพุทโธสร้างด้วยหินภูเขาไฟประมาณ 2 ล้านตารางฟุตบนฐานสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 121 เมตร สูง 403 ฟุต เป็นรูปทรงแบบปิรามิด มีลานเป็นชั้นลดหลั่นกัน 8 ชั้น และใน 8 ชั้นนั้น 5 ชั้นล่างเป็นลาน 4 เหลี่ยม 3 ชั้นบนเป็นลานวงกลม และบนลานกลมชั้งสูงสุดมีพระสถูปตั้งสูงขึ้นไปอีก 31.5 เมตร เป็นมหาสถูปที่ระเบียงซ้อนกันเป็นชั้นๆลดหลั่นกันไป

1 ความคิดเห็น: