มรดกโลกในประเทศไทย
1. ประเทศไทย
ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่
ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เป็นมรดกโลกแหล่งที่
5 ของไทย และเป็นอันดับที่ 2 ของมรดกทางธรรมชาติไทย
ได้รับการลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 10-17 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ณ เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ ประกอบไปด้วย
อุทยานแห่งชาติ 4 แห่ง
และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอีก 1 แห่ง กินพื้นที่อยู่ใน 6 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และบุรีรัมย์ มีพื้นที่รวมทั้งสิ้นราว
3,874,863 ไร่ หรือ 6,155 ตารางกิโลเมตร ถูกเรียกว่าเป็น
ผืนป่าตะวันออก ซึ่งเปรียบเทียบกับผืนป่าตะวันตก ในเขตจังหวัดตาก และรอบๆ แหล่งมรดกโลกเขาใหญ่ ดงพญาเย็นนั้น เป็นผืนป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง
โดยมีสภาพป่าแบบต่างๆ ตั้งแต่ ป่าดงดิบ ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และทุ่งหญ้า
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2535 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 16 ที่เมืองแซนตาเฟ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง
อยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า 5,000 ปีร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยดังกล่าว
แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่ มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ
ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิตและสร้าง
สังคม-วัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน วัฒนธรรมบ้านเชียงได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่ง
ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
และเมืองบริวาร
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกภายใต้ชื่อ
"นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร"
ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 เมื่อปี พ.ศ. 2534 จาก
ยูเนสโก (UNESCO) เป็นมรดกโลกที่เป็นแหล่งรวบรวมศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ชาติไทยที่มีมานานกว่า 417 ปี มีโบราณสถานที่เก่าแก่ทรงคุณค่า และแสดงถึงความ
รุ่งเรืองของบรรพบุรุษไทยสมัยก่อนอยู่มากมาย
จนในปัจจุบันอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
ได้ถูกบูรณะปรับปรุงโครงสร้างให้กลายเป็นแหล่งเรียนรู้
และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ให้กับคนรุ่นใหม่
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
และเมืองบริวาร
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ครอบคลุมพื้นที่โบราณสถานกรุงสุโขทัย ศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอำนาจอยู่บริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-19 ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า
(เขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า) อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยปัจจุบัน
(เขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี) ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร
ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12
(ถนนจรดวิถีถ่อง)ผังเมืองสุโขทัยมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร กว้างประมาณ 1.6 กิโลเมตร มีประตูเมืองอยู่ตรงกลางกำแพงเมืองแต่ละด้าน
ภายในยังเหลือร่องรอยพระราชวังและวัดอีก 26 แห่ง
วัดที่ใหญ่ที่สุดคือวัดมหาธาตุ อุทยานแห่งนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากรด้วยความช่วยเหลือจากองค์การยูเนสโก มีผู้เยี่ยมชมหลายแสนคนต่อปี
ซึ่งสามารถเดินเท้าหรือขี่จักรยานเที่ยวชมได้
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2534
ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย เป็นแหล่งมรดกโลกของประเทศไทย กินพื้นที่ครอบคลุม
6 อำเภอ ของ 3 จังหวัด ได้แก่ อำเภอบ้านไร่ อำเภอลานสัก อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี อำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก มีพื้นที่ 2,279,500
ไร่ หรือ 3,647 ตารางกิโลเมตรเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่
มีลักษณะทางภูประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน และเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำลำธารที่สำคัญเช่น
แม่น้ำแควน้อยและแม่น้ำแควใหญ่ พื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร มีความสูงโดยเฉลี่ยมีความสูงอยู่ที่
ประมาณ 800 - 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล
และมีเขาใหญ่เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรซึ่งมีความสูง
1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเล
แหล่งที่มา http://www.uasean.com/kerobow01/10
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น